www.thairiceexporters.or.th  
home about us members contact us FAQ link site map English Thai

นักวิเคราะห์คาด ราคาข้าวครึ่งปีหลังทะยาน


นิตยสาร "Rice Today" ฉบับเดือน เม.ย.-มิ.ย.2554 นำเสนอรายงานเชิงวิเคราะห์ภายใต้หัวข้อชื่อ "ตลาดข้าวที่กำลังง่วงเหงาหาวนอน: ภาวะสงบก่อนเกิดพายุ" โดยระบุว่า ราคาอาหารโลกกำลังปรับตัวขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ดัชนีราคาอาหารขยับขึ้นสูงกว่าระดับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในช่วงวิกฤติอาหารปี 2551 เมื่อราคาข้าวทะยานขึ้นจากเดิมเกือบ3เท่า

วิกฤติอาหารครั้งที่2ในรอบ3ปี นำไปสู่เหตุจลาจลและการชุมนุมประท้วงในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ จึงมีการตั้งคำถามว่า อาหารราคาถูกกำลังจะกลายเป็นอดีตสำหรับมนุษยชาติไปแล้วหรือ

ที่สำคัญดัชนีราคาอาหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน ก่อนที่ราคาอาหารจะทะยานสูงสุดช่วงปี 2550-2551 และในรอบ10ปีที่ผ่านมา ดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบ2เท่า โดยไม่ต้องคำนึงถึงช่วงที่ราคาอาหารทะยานสูงสุด ช่วงปี 2550-2551 และปี2553

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า วิกฤติอาหารปี 2551 เกิดจากสาเหตุมาการเก็งกำไรและความตื่นตระหนกของประเทศผู้ปลูกข้าวรายสำคัญ ที่เริ่มหันมามองถึงประเด็นความไม่มั่นคงด้านอาหารมากขึ้น

จนถึงขณะนี้ ราคาข้าวถือว่าทรงตัวเพิ่มขึ้น 17% เท่านั้นในช่วงเดือนมิ.ย.2553 และก.พ.2554 เทียบกับราคาของธัญพืชประเภทอื่นๆที่ทะยานขึ้นไป 50-150% ในกลุ่มธัชพืชหลักๆ ราคาข้าวสาลีเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า และราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้นกว่า90% ส่วนราคาของโภคภัณฑ์ตัวอื่นๆอาทิเช่น น้ำตาล และฝ้ายเพิ่มขึ้นมาก80% และ105% ตามลำดับ ผลพวงส่วนใหญ่มากจากผลผลิตตกต่ำลง เพราะสภาพอากาศเลวร้ายในส่วนต่างๆของโลก

แม้ผลผลิตข้าวในปี 2553-2554 ลดลง10ล้านตัน เพราะน้ำท่วมในปากีสถานและในบางประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันผลผลิตทั่วโลกช่วงปี 2553-2554 สูงกว่า450ล้านตันเพียงเล็กน้อย ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าผลผลิตของปีที่แล้ว11ล้านตัน

ความต้องการโภคภัณฑ์ประเภทอาหารและเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับราคาอาหาร เช่น ความต้องการข้าวโพดเพื่อนำไปใช้ผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลในสหรัฐทุกวันนี้มีสัดส่วนเกือบ40% ของผลผลิตทั่วโลก ซึ่งหมายความว่า ข้าวโพด 125 ล้านตันย้ายจากวงจรอาหารไปสู่วงจรเชื้อเพลิง

ขณะที่การบริโภคโภคภัณฑ์สำหรับอาหาร(ข้าวสาลีและข้าว)ยังคงแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2548-2553 ปริมาณ72 ล้านตัน เทียบกับการเพิ่มขึ้น33 ล้านตันจากช่วงปี 2543-2548

ด้านองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(เอฟเอโอ) คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3% ในปีนี้ ซึ่งมองแงดีว่า สภาพอากาศจะดีขึ้นและรัฐบาลประเทศต่างๆที่ปลูกข้าว จะมีมาตรการต่างๆที่สนับสนุนเกษตรผู้ปลูกข้าว

เอฟเอโอ ซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงโรมประมาณการว่า ผลผลิตข้าวปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น720ล้านตันจาก699 ล้านตัน ในปีก่อนหน้านี้
"การคาดการณ์นี้ค่อนข้างมองแง่ดี เพราะคาดสภาพอากาศในประเทศผู้ปลูกข้าวจะดีขึ้น ขณะที่ผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญา จะเบาบางลงในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า" เอฟเอโอ ระบุ

เอฟเอโอ คาดอีกว่า ผลผลิตข้าวในยุโรปออสเตรเลีย และละตินอเมริกาจะเพิ่มขึ้นส่วนผลผลิตข้าวในแอฟริกาจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และสหรัฐจะลดลง15% ผลพวงจากเกษตรกรเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนหรือผลกำไรสูงกว่า

ส่วนผลผลิตข้าวในเอเชีย คาดจะเพิ่มขึ้น3%เป็น651ล้านตัน ขึ้นอยู่กับผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นในจีน อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด

ด้านอินโดนีเซีย กันพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 570,000 เฮกเตอร์ เพื่อปลูกข้าวให้ได้2ล้านตัน หวังลดการนำเข้าข้าวให้มากที่สุดในปีนี้

บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะลงนามข้อตกลง เพื่อสร้างไซโลเก็บรักษาข้าวของภูมิภาคในเดือน ต.ค.นี้เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวผันผวน แต่นักวิเคราะห์มองว่า ประเทศต่างๆเหล่านี้ จำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนด้านการเกษตร เพื่อสร้างความมั่งคงด้านอาหารระยะยาว

ส่วนอินโดนีเซียนั้น บริษัทของรัฐบาล4แห่ง จะร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกข้าวแห่งใหม่ ซึ่งจะกินพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอาเจะห์ในตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ไปจนถึงตอนกลางของเกาะชวาและหมู่เกาะทางภาคตะวันออกของประเทศ

เราประเมินว่า แผนร่วมทุนของบริษัทเอกชนทั้ง4แห่ง จะช่วยผลิตข้าวได้อย่าน้อย2ล้านตัน ซึ่งสุดท้ายแล้วบูล็อก จะเป็นผู้ซื้อข้าวนี้ทั้งหมด ซึ่งช่วยให้อินโดนีเซีย ไม่ต้องนำเข้าข้าวตลอดทั้งปีนี้" นายสุตาร์โต อลิโมเอโซ ประธานบูล็อก กล่าว

ขณะที่สมาคมอาหารเวียดนาม(วีเอฟเอ)เปิดเผยตัวเลขส่งออกข้าว4เดือนแรกของปีนี้ว่า ได้ส่งออกข้าวไปแล้ว 2.2ล้านตัน มูลค่ากว่า1,000ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น26% ในเชิงปริมาณและเพิ่มขึ้น 28% ในเชิงมูลค่าเทียบปีต่อปี แม้ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเวียดนามจะลดคำสั่งซื้อลง 20% เหลือเพียง200,000 ตันในปีนี้ก็ตาม แต่ความต้องการยังเพิ่มขึ้นในตลาดอื่นๆ เช่นในตลาดอื่นๆ เช่นอินโดนีเซีย บังกลาเทศและแอฟริกา ขณะเดียวกัน จีนได้สั่งซื้อข้าวจากเวียดนาม 200,000 ตัน

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

TREA on Facebook


©
Thai Rice Exporters Association

37 Soi Ngamduplee , Rama 4 Road , Toongmahamek , Sathorn District , Bangkok 10120 ,
Tel. 0-2287-2674-7 , 0-2287-2663-4 , Fax : 0-2287-2678

E-mail :
contact@thairiceexporters.or.th


Copyright © 2009 All rights reserved by Thai Rice Exporters Association.