 |
ขั้นตอนการส่งออกข้าวไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีอะไรบ้าง |
การส่งออกข้าว
พิกัดศุลกากร : 1006.10 1006.20 1006.30 และ 1006.40 วัตถุประสงค์ในการควบคุม
- เพื่อป้องกันการขาดแคลนและเพื่อจัดระเบียบการส่งออก
- ปฏิบัติตามความตกลงไทยกับสหภาพยุโรปเพื่อระงับข้อพิพาทอันเนื่องจาก ขยายสมาชิกภาพ ตามมาตรา 24(6) โดยชดเชยความเสียหายให้และผลจาก การเจรจากรณีใช้ Reference Price ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 23 ของแกตต์
ขอบเขตการควบคุม
- ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ทั้งที่เป็นข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวนึ่ง และรำ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวทุกชนิด
การส่งออกข้าวต้องดำเนินการดังนี้
1. การส่งออกข้าวทั่วไป
- การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
- การขออนุญาตส่งออก
2. การส่งออกข้าวภายใต้โควตาของสหภาพยุโรป
- การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
- การขอรับการจัดสรรปริมาณการส่งออก
- การขออนุญาตและหนังสือรับรองการส่งออก
1. การส่งออกข้าวทั่วไป
จะอนุญาตให้ส่งออกโดยไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ผู้ส่งออกจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 การขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
1.1.1 หลักเกณฑ์
-ต้องได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าว ประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว พ.ศ.2489 จากกรมการค้าภายในซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติโดยสังเขป ดังนี้
-กรณีเป็นนิติบุคคลทั่วไป
(1) ต้องจดทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
(2) มีโรงเก็บข้าวที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้เป็นที่สำหรับตรวจเก็บ และบรรทุกข้าวลงเรือเพื่อส่งออกได้ ที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครอง โดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) มีเงินทุนจดทะเบียนที่ได้เรียกชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท
(4) ต้องมีข้าวสารเป็นกรรมสิทธิ์ไม่น้อยกว่า 500 เมตริกตัน ภายใน 15 วัน ที่ได้รับหนังสืออนุญาต และตลอดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ค้าข้าวหมายเหตุ ผู้ส่งออกข้าวที่ยื่นแสดงความจำนงขอส่งเฉพาะข้าวสารบรรจุกล่อง หรือหีบห่อ น้ำหนักสุทธิไม่เกิน 12 กก. ไม่ต้องมีคุณสมบัติตาม (2) (3) และ (4)
-กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจร่วมถือหุ้น ต้องจดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
-กรณีเป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร ต้องจดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์ในการค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
-กรณีเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ค้าข้าวส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ เฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
(1) ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หรือจดทะเบียนนิติบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์ค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เฉพาะประเทศที่มีชายแดน ติดต่อกับประเทศไทยโดยมีมูลค่าส่งออกไม่เกินวันละ 1,000,000 บาท
(2) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับต่างประเทศ
1.1.2 เอกสารที่ใช้
- แบบ คพ.1 (แบบพิจารณาอนุญาตให้เป็นผู้ค้าข้าว)
- หนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจากกรมทะเบียนการค้า (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคล
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20
1.1.3 ระยะเวลาดำเนินการ
ไม่เกิน 3 วันทำการ
1.1.4 ค่าธรรมเนียม
- บาท
1.2 การขออนุญาตส่งออก
1.2.1 หลักเกณฑ์
- ต้องผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าว (ตามข้อ 1) แล้วและจะอนุญาตให้ส่งออกโดยไม่จำกัดจำนวน
1.2.2 เอกสารที่ใช้
- แบบคำขอใบอนุญาตส่งออกสินค้าทั่วไป
- แบบ อ.1 และแบบ อ.2 กรณีส่งออกที่มิใช่เพื่อการค้า หรือแบบ อ.3 และแบบ อ.4 กรณีการส่งออกเพื่อการค้า
- แบบ คพ. 3 (หนังสือรายงานการแจ้งขาย)
- หลักฐานการซื้อขาย เช่น L/C, Sales Contract
1.2.3 ระยะเวลาดำเนินการ
ไม่เกิน 1 วันทำการ
1.2.4 ค่าธรรมเนียม
- บาท
|
ค่าใช้จ่ายในการส่งออกข้าวไปจำหน่ายยังต่างประเทศ จำแนกเป็นอะไรบ้างและคิดเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ |
1. ยื่นคำขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการค้าข้าวที่สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรกรมการค้าภายใน หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัด ค่าธรรมเนียมปีละ 50,000 บาท
2. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าว ที่สำนักการค้าข้าวต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
3. การขอใบอนุญาตส่งออกข้าวต้องเสียค่าใช้จ่ายชุดละ 30 บาท
4. จดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมปีละ 2,500 บาท
5. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย โดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้า ( ขอรายชื่อบริษัทที่รับตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทยได้ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้า )
5.1 ตรวจปล่อยสินค้าบรรทุกเรือใหญ่ หรือเรือลำเลียง ตันละไม่เกิน 18 บาท
5.2 ตรวจปล่อยสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ตู้แรกไม่เกิน 1,500 บาท ตู้ต่อไป ตันละไม่เกิน 18 บาท
6. ค่าใช้จ่ายในการขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับละ 100 บาท
7. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้าวชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทย ได้แก่ ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีดังนี้
7.1 เป็นสมาชิกสภาหอการค้าฯ เก็บอัตราตันละ 2.50 บาท
7.2 ไม่เป็นสมาชิกสภาหอการค้าฯ เก็บอัตราตันละ 5 บาท
8. หากต้องการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
8.1 ค่าสมาชิกแรกเข้า รายละ 50,000 บาท
8.2 ค่าบำรุงรายปีๆ ละ 12,000 บาท หรือเดือนละ 1,000 บาท
8.3 ค่าบำรุงพิเศษ ตันละ 1.50 บาท โดยเก็บตามจำนวนตันของข้าวที่ส่งออก
|
ขั้นตอนการซื้อขายข้าว เงื่อนไขที่จำเป็นต้องทราบมีอะไรบ้าง |
การติดต่อหาลูกค้า เพื่อให้ได้คำสั่งที่ชัดเจนแน่นอน หรือการเจรจาซื้อขาย เพื่อทราบรายละเอียดกำหนดเมืองท่าปลายทาง ชนิด เวลาส่งมอบ เงื่อนไขการส่งมอบ การตรวจสอบคุณภาพ การชำระเงิน การตั้งตัวแทน การกำหนดราคาซื้อขาย ให้ติดต่อสอบถามที่ สำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ หากต้องการทราบราคาข้าวซื้อขายภายในประเทศ และราคาส่งออกข้าว F.O.B. สามารถเข้าดูได้ทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ ซึ่งราคาข้าวดังกล่าวเป็นราคาประมาณการ และเปลี่ยนแปลงทุกวันพุธ โดยคณะกรรมการสาขาข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
|
การส่งออกข้าวภายใต้โควตาภาษีของสหภาพยุโรปจะต้องทำอย่างไร |
1.1 การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก
1.2 การขอรับการจัดสรรปริมาณการส่งออก มีหลักเกณฑ์ดังน
ี้- ปริมาณส่งออกจะจัดสรรให้เฉพาะผู้ที่มีประวัติการส่งข้าวออกไปสหภาพยุโรปตามสัดส่วนโดยใช้ประวัติส่งออกย้อนหลัง 3 ปี โดยปริมาณส่งออกข้าวแต่ละปีและอัตราภาษีนำเข้าสหภาพยุโรป ดังนี้
- ข้าวขาว (พิกัด 1006.30) จำนวน 21,455 ตัน อัตราภาษี 0
- ข้าวหัก (พิกัด1006.40) จำนวน 52,000 ตัน อัตราภาษี 45 ยูโร/ตัน
1.3 การขอรับหนังสือรับรองและใบอนุญาตการส่งออก
1.3.1 การขอรับหนังสือรับรองฯ
(1) หลักเกณฑ์
จะออกหนังสือรับรองการส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป (Export Certificate)เพื่อใช้สำหรับประกอบการขอลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าสหภาพยุโรป ตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรร
(2) เอกสารที่ใช้
- แบบฟอร์ม ยร. 2 (คำร้องขอหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าข้าว)
- แบบฟอร์มหนังสือรับรองการส่งออกข้าวที่ส่งไปสหภาพยุโรป (Export Certificate)
(3) ระยะเวลาดำเนินการ
ไม่เกิน 1 วันทำการ
(4) ค่าธรรมเนียม
- บาท
1.3.2 การขอใบอนุญาตส่งออก
(1) หลักเกณฑ์
จะอนุญาตให้ส่งข้าวออกไปสหภาพยุโรปตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรร
(2) เอกสารที่ใช้
- แบบคำขอใบอนุญาตส่งออกสินค้าทั่วไป
- แบบ อ.3 และ อ.4
(3) ระยะเวลาดำเนินการ
ไม่เกิน 1 วันทำการ
(4) ค่าธรรมเนียม
กรณีส่งออกเป็นข้าวขาวพิกัด 1006.30 ชำระค่าธรรมเนียมในอัตราตันละ 2,500 บาท
|
การขอใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยจะต้องทำอย่างไร |
ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยต่อสำนักงานมาตรฐานสินค้าแล้ว หากประสงค์จะขอใช้เครื่องหมาย รับรองข้าวหอมมะลิไทย ให้ทำหนังสือแจ้งขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย พร้อมทั้งแนบสำเนาใบทะเบียนการเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยต่อผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ เมื่อสำนักฯ มีหนังสือแจ้งอนุญาตผู้ส่งออกก็สามารถใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยได้
|
|
|