|
พาณิชย์ดันส่งออก 'ข้าวแพลทินัม' 'ผู้ส่งออก-โรงสี' ตีปีกตลาดล่วงหน้าพุ่ง 200 สัญญา
|
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เตรียมเปิดสัญญาล่วงหน้าข้าวขาว 5% เอฟโอบี วันที่ 29 เมษายนนี้ นับเป็นการเปิดตัวสินค้าใหม่หลังเว้นวรรคมานาน 2 ปี (สินค้าหลังสุด คือ มันสำปะหลังเส้น ทำเมื่อปี 2552) จะส่งผลดีต่อผู้ซื้อและผู้ขายในและต่างประเทศทั้งรายเล็กและใหญ่สามารถแข่งขันในเวทีเดียวกันได้ ตั้งเป้าจะมีการซื้อขายข้าวดังกล่าววันละ 200 สัญญา
ปริมาณแนวโน้มส่งออกตลอดปีนี้จะเป็นยุคแพลทินัมข้าวไทย เพราะการส่งออกน่าจะเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและราคาเกินกว่าเป้าของกระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ 9.5 ล้านตัน เห็นได้จากช่วงไตรมาส 1/2554 ทำยอดเฉลี่ยได้ถึงเดือนละ 1 ล้านตัน รวมประมาณ3.06-3.09 ล้านตัน เป็นผลมาจากหลายประเทศประสบภัยธรรมชาติ จึงมีความต้องการซื้อเพิ่ม บวกกับรัฐบาลสั่งระบายสต๊อกก่อนหน้านี้
ขณะนี้ภาคเอกชนต้องการซื้อข้าวล่วงหน้าโดยรับคำสั่งซื้อ (order) ไปจนถึงเดือนพฤษภาคมนี้แล้ว ส่วนรัฐบาลอยู่ระหว่างเจรจาขายข้าวผ่านระบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ซึ่งจะสรุปเร็ว ๆ นี้ กับตลาดอาเซียน 4 ประเทศ รวมทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แอฟริกา รวมไม่ต่ำกว่าประเทศละ 2.5 แสนตัน สำหรับราคาข้าวเปลือกในประเทศไม่ต่ำกว่าประเทศละ 2.5 แสนตัน
สำหรับราคาข้าวเปลือกในประเทศอาจปรับตัวสูงขึ้นจากก่อนหน้านี้เล็กน้อยแยกเป็นข้าวเปลือกเจ้า ล่าสุดอยู่ที่8,200-8,300 บาท/ตัน จะขยับเป็น 8,900-9,000 บาท/ตัน สอดคล้องกับยอดส่งออกเพิ่มขึ้น และจากการดำเนินโครงการตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวเปลือกภายใต้โครงการประกันรายได้ ซึ่งเปิดจุดรับซื้อทั่วประเทศ 800-900 จุด ราคาจึงไม่น่าจะลดลงมากนัก ถึงแม้ระหว่างพฤษภาคม-มิถุนายนนี้จะเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวนาปรัง ซึ่งจะมีผลผลิตใหม่ออกมาไม่ต่ำกว่า 4-5 ล้านตันข้าวเปลือกก็ตาม
"กระทรวงพาณิชย์เร่งปรับปรุงบทบาททำหน้าที่เสมือนเป็นผู้จัดการ (organizer) สนับสนุนเอกชนทุกด้านบวกกับจะเร่งทำยุทธศาสตร์ข้าวไทยเพื่อวางแผนส่งออกข้าวแต่ละชนิด อนาคตจะเน้นข้าวคุณภาพมีมูลค่าเพิ่ม วางเป้าหมายจะใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนยกระดับไทยเป็นผู้นำ ทั้งทางด้านโรงสี ชาวนาผู้ส่งออก ทั้ง 3 ฝ่ายต้องร่วมมือกัน"
นายยรรยงกล่าวว่า การวางยุทธศาสตร์ข้าวหลัก ๆ เน้นสร้างความแตกต่างทางผลิตภัณฑ์ หรือ product differenctation เพื่อสร้างมูลค่า จำแนกข้าวเป็น3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 ข้าวหอมมะลิเพิ่มระดับมาตรฐานอย่างละเอียด จากเดิมมีเพียง 92% จะเพิ่มเป็น 95% และ100% เพื่อแยกการทำตลาดตามเซ็กเมนต์ โดยขอให้เอกชนพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าข้าวกลุ่ม 2 ข้าวขาว ต้องสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภคข้าวไทยมีความแตกต่างจากข้าวประเทศอื่น เช่น เพิ่มสัดส่วนการทำข้าวนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการข้าวนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น กลุ่ม 3 ข้าวอื่น ๆรวมทั้งข้าวนึ่ง ข้าวเหนียว ข้าวที่มีคุณลักษณะพิเศษ โครงการนี้รัฐบาลจะหาแนวทางรักษาเสถียรภาพราคาข้าวชนิดนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะข้าวกลุ่มนี้มีปริมาณผลผลิตน้อยแต่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาในตลาดโลกเช่น ข้าวเหนียวต่างประเทศราคาสูงจะดันราคาในประเทศสูงตามขึ้นไปด้วย
นายเสริมศักดิ์ ควรทรงธรรม อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ระหว่าง 3-5 ปีนี้ไทยจะครองแชมป์ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ต่อไป แม้จะเสียส่วนแบ่งตลาดข้าวขาวให้เวียดนามบางส่วน แต่ได้ข้าวมะลิกับข้าวนึ่งมาทดแทนแนวโน้มปีนี้จะส่งออกได้ถึง 10 ล้านตัน
นายเกียรติ กัลยาสิริวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ Novel Commodities S.A.กล่าวว่า จากการประเมินราคาข้าวปีนี้ยังปรับตัวสูง มีโอกาสขยับขึ้นอีกตันละ30-40 เหรียญสหรัฐ คิดเป็น 500-550 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากปัจจุบัน 470-480 เหรียญสหรัฐ/ตัน เมื่อทอนกลับมาเป็นราคาข้าวเปลือกจะมีราคาประมาณ 8,800 บาท/ตัน โดยชาวนาไทยมีต้นทุนที่ 7,000 บาท/ตัน
นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ปัจจัยทางนโยบายการเมืองเป็นตัวแปรสำคัญ 1 ใน 4 ที่จะมีผลต่อความสำเร็จของตลาดล่วงหน้าที่ควรกำหนดให้ชัดเจน เช่น การตั้งราคาจำนำสูงจนบิดเบือนกลไกราคาก็ควรผ่อนปรนหรือปรับเงื่อนไขสร้างโปรโมชั่นจูงใจผู้ซื้อ ลดค่าใช้จ่ายการส่งมอบสัญญาที่กำหนดไว้ 36 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
|
|
|
 |
|
© Thai Rice Exporters Association
37 Soi Ngamduplee , Rama 4 Road , Toongmahamek , Sathorn District , Bangkok 10120 ,
Tel. 0-2287-2674-7 , 0-2287-2663-4 , Fax : 0-2287-2678
E-mail : contact@thairiceexporters.or.th
Copyright © 2009 All rights reserved by Thai Rice Exporters Association.
|
|
|