ุ
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว เปิดเผยว่า ต้องการให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดหลักเกณฑ์การประมูลข้าวในส่วนของข้าวเสียหายและเป็นผง 1.29 ล้านตัน และข้าวเกรดซี ที่อยู่ในโกดังเดียวกัน 1.3 ล้านตัน แบบเปิดกว้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการค้าข้าวทั่วไปสามารถเข้าร่วมประมูลข้าวในส่วนนี้ได้ จากเดิมที่กระทรวงฯจะกำหนดให้เฉพาะอุตสาหกรรมเข้ามาประมูลได้เท่านั้น คือ ข้าวเสียหายและเป็นผงเปิดประมูลให้กับอุตสาหกรรมชีวมวล และข้าวเกรดซีจะเปิดประมูลให้กับอุตสาหกรรมเอทานอล
ทั้งนี้ วงการค้าข้าวมองว่า หากเปิดกว้างให้ผู้ค้าข้าวหรืออุตสาหกรรมอื่นมีส่วนร่วมในการประมูลข้าว 2 ส่วนนี้ จะทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์จากการประมูลมากกว่า เพราะจะมีการแข่งขันทางด้านราคา โดยข้าวเสียหายและเป็นผงเชื่อว่าราคาที่จะมีการแข่งขันกันน่าจะมีการเสนอราคาอยู่ที่กก.มากกว่า 4-5 บาทขึ้นไป หากระบายทำชีวมวลก็จะถูกกดราคาเหลือแค่กก.ละ 1-2 บาท เพราะเชื่อว่าข้าวในส่วนนี้ไม่ได้เสียหายทั้งหมด หรือเป็นฝุ่นแป้งไปทั้งหมด มีบางส่วนที่สามารถคัดแยกและนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ที่ได้ราคาสูงกว่า อย่างราคาปลายข้าวที่ขายในตลาดปัจจุบันก็ไม่ต่ำกว่าราคา 8 บาท/กก.แล้ว ส่วนข้าวเกรดซีเชื่อว่าจะมีการแข่งขันเสนอราคาซื้อสูงถึง 7-8 บาท/กก.ขึ้นไป
"ตอนนี้วงการข้าวมองว่ารัฐบาลจำกัดเงื่อนไขมากเกินไป เช่น ข้าวเกรดซีก็ไประบุจะระบายเอทานอล ซึ่งมีเพียงไม่กี่โรงงาน แทนที่จะเปิดกว้างและแข่งขันราคา คือให้ทั้งโรงงานเอทานอลเข้ามาร่วมประมูลและเอกชนรายอื่นด้วย หากใครเสนอสูงกว่าราคากลางที่รัฐกำหนด ก็ได้ข้าวในส่วนนี้ไป ถือเป็นการเพิ่มช่องทางระบายข้าวออกไปได้เร็วให้กับรัฐบาล"แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าว กล่าวว่า ส่วนข้อกังวลที่ว่าข้าวเกรดซี หรือข้าวเป็นฝุ่นผงหากมีการเปิดระบายให้ส่วนอื่น จะวนกลับมาสู่ตลาดข้าวปกติเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ประกอบการที่ค้าข้าวในตลาดก็มีการสร้างแบรนด์สินค้า หากมีการนำของไม่มีคุณภาพมาขายให้กับผู้บริโภค ก็จะเป็นทำลายชื่อเสียงของตัวเอง อีกทั้งมองว่าปัจจุบันไม่มีโครงการรับจำนำข้าวแล้ว ดังนั้นการเข้าไปซื้อข้าวราคาถูกเพื่อนำกลับมาสวมสิทธิ์ในโครงการรับจำนำข้าว จึงไม่เกิดขึ้นได้อีก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรเปิดกว้าง เพื่อให้รัฐขายข้าวได้ราคาดีที่สุด อีกทั้งมองว่าที่ผ่านมาการตรวจสอบคุณภาพข้าวก็มีเพียงฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐที่ไปตรวจสอบ ไม่ได้ให้ทางฝ่ายภาคเอกชนที่มีความรู้ด้านข้าวเข้าไปร่วมตรวจสอบสต๊อกข้าว การกำหนดว่าข้าวทั้งหมดเน่าเสียจึงอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด หรือข้าวเกรดซี ซึ่งบางครั้งมีการล้อมกองโดยมีข้าวเกรดซีเพียงเล็กน้อยและไปเหมารวมว่าเป็นข้าวเกรดซีทั้งหมด ยิ่งทำให้รัฐบาลเสียประโยชน์และทำให้ข้าวส่วนนั้นราคาตกลงไปอีก
แผนการตลาดของรัฐบาลนั้น วงการข้าวมองว่าผิดพลาด เพราะการไประบุว่าโกดังทั้งหมดเป็นข้าวเกรดซี ซึ่งจะทำให้ข้าวรัฐยิ่งราคาตก ซึ่งไม่ควรระบุ แต่เมื่อระบายก็เปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมต่างๆเข้าไปดูเข้า ทางธุรกิจจะพิจารณาเองว่าข้าวส่วนนั้นจะนำมาใช้ทำอะไร และจะแข่งขันกันเสนอราคาเท่าไหร่ ทำให้ราคาที่นายมานัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า จากภาวะภัยแล้งทำให้ผลผลิตข้าวเปลือกออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ความต้องการข้าวเปลือกในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยที่ไทยต้องส่งมอบข้าวตามคำสั่งซื้อแบบรัฐต่อรัฐกับจีนปริมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งทยอยส่งมอบจนถึงแสนที่ 6 และกำหนดส่งมอบเร็วๆนี้ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้น เพราะจีนต้องข้าวฤดูกาลใหม่ ล่าสุดราคาซื้อขายข้าวเปลือกในตลาด (ความชื้น 15%) เฉลี่ยตันละ 8,200-8,700 บาท แล้ว ส่วนราคาข้าวสาร 5% ก่อนหน้านี้ตันละ 1.1-1.15 หมื่นบาท ปัจจุบันราคาเฉลี่ยที่ตันละ 1.25 หมื่นบาท หรือช่วงเวลาประมาณ 20 วันราคาข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าตันละ 1,000 บาท
ทั้งนี้สมาคมโรงสีข้าวรายงานว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้า 100% ณ วันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ตันละ 8,200 (ความชื้น 15% ) ส่วนข้าวหอมปทุมธานี ตันละ 1.3 หมื่นบาท ข้าวหอมมะลิ ตันละ 1.3-1.5 หมื่นบาท ส่วนข้าวสาร 5% ตันละ 1.18-1.2 หมื่นบาท สำหรับราคาส่งออกข้าว (FOB) ข้าวหอมมะลิ ตันละ 1,046 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ตันละ 1,037 เหรียญสหรัฐ ข้าวสาร 5% ตันละ 390 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากตันละ 381 เหรียญสหรัฐ ข้าวนึ่ง 100% ตันละ 399 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ตันละ 387 เหรียญสหรัฐ
ที่มา โพสต์ทูเดย์
|